Search Category / ค้นหา
อาการหรือลักษณะที่สังเกตได้ง่ายๆ มีดังนี้
หลักที่เจ้าของสัตว์ทุกๆ คนต้องจำให้มั่นก็คือ การพยายามใช้สายตา ความช่างสังเกต และความทรงจำให้เป็นประโยชน์ คือ พยายามสังเกตกิริยาท่าทางของสัตว์ปกติตลอดจนนิสัยพิเศษเฉพาะตัวของสัตว์นั้นๆ
อาการหรือลักษณะที่สังเกตได้ง่ายๆ มีดังนี้ |
|||||||
![]() ![]() |
|||||||
ปกติโคมักจะนอนเอาแรง หลังกินอาหารเสมอโดยอยู่ในท่าขาคู่หน้าคู้พับไว้ใต้อก ส่วนท้ายของลำตัวจะอยู่ในท่านอนตะแคงโดยยื่นขาหลังทั้งคู่ไปด้านซ้าย หรือขวา นี่คือท่านอนปกติในโค
แต่ถ้าโคป่วยในบางโรคจะเห็นความผิดปกติ เช่น ป่วยเป็นไข้น้ำนม เริ่มแรกแม่โคจะนอนโดยใช้อกยันพื้น หัวพับไปข้างใดข้างหนึ่ง ระยะต่อมาจะซึมมาก และนอนตะแคงข้าง ขาทั้ง 4 เหยียด ซึ่งถ้าเป็นถึงขั้นนี้สิ่งที่จะตามมาเสมอ คือ อาการท้องอืด จึงจำเป็นต้องพลิกให้โคนอนในท่าปกติโดยเร็ว นอกจากนั้นจะสังเกตเห็นได้ว่าโคที่ป่วยมากๆ มักนอนหัวตก หูลู่ หรือคอพับ เคลื่อนไหวไปไหนก็รู้สึกลำบาก แต่ถ้าโคที่ป่วยด้วยโรคเกี่ยวกับระบบประสาท เช่น บาดทะยัก หรือโรคในส่วนคอ สัตว์เหล่านี้มักจะยืดเกร็งคอมากจนสังเกตเห็นได้ชัด |
|||||||
|
|||||||
![]() |
|||||||
เวลาโคจะลุกขึ้นปกติแล้ว มันจะเอา 2 ขาหลังยันพื้นก่อนแล้วตามด้วยขาหน้า หากผิดไปจากนี้ก็น่าสงสัยว่ามันอาจเกิดเจ็บขา หรือกีบ
ข้างใดข้างหนึ่ง แต่บางครั้งถ้าพบการลุกผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด ก็อาจจะเกิดเนื่องจากความผิดปกติที่สมอง หรือเป็นกรรมพันธุ์ได้ |
|||||||
|
|||||||
![]() |
|||||||
ปกติโคจะยืนตัวตรงๆ ตามธรรมดา การยืนผิดปกติที่สังเกตเห็นได้ง่ายๆ ได้แก่ สังเกตเห็นโคยืนหลังโก่งก็มีสิทธิที่จะป่วยจากสาเหตุต่างๆ หลายชนิด ยกตัวอย่างเช่น
มดลูกอักเสบ กรณีนี้แม่โคจะยืนหลังโก่ง ขาหลังกาง หรือแสดงอาการเบ่งบ่อยๆ มักไม่ค่อยอยากขยับเขยื้อน ถ้ามีการบังคับให้เคลื่อนไหว โคจะขยับอย่างเสียไม่ได้ และมีการปัสสาวะแถมท้ายด้วย กินโลหะแหลม ถ้าโคตัวไหนรู้เท่าไม่ถึงการณ์ไปกินโลหะแหลม เช่น ตะปู ลวด ซึ่งปะปนอยู่ในอาหาร สิ่งที่จะตามมาก็คือโลหะนั้นมักจะไปทิ่มตำผนังกระเพาะ หรืออาจแทงทะลุกระบังลมไปถึงหัวใจ หรือแทงไปโดนตับ, ม้าม ก็ได้ แบบนี้โคจะยืนหลังโก่ง ขนลุก ขยับตัวด้วยท่าทางแข็งๆ และถ้าเราไปโดนร่างกายส่วนที่มีตะปูอยู่ก็จะแสดงท่าทางเจ็บปวดมาก นอกจากนี้โคที่มีการขาดแร่ธาตุบางชนิด เช่น ขาดแคลเซียม มักจะมีอาการกล้ามเนื้อสั่นเวลายืนขาหลังอ่อนไม่ค่อยมีแรง ถ้าโคขาดธาตุ มักเนเซี่ยมมากๆ โคมักจะยืนตัวตรงไม่ค่อยได้ เข่าอ่อน สะดุดล้มอยู่เสมอ ท่าเดินงอกแงกเหมือนแบกของหนักๆ บนหลัง |
|||||||
|
|||||||
![]() |
|||||||
ถ้าโคมีอาการเดินผิดปกติ เจ้าของจะสังเกตเห็นว่าส่วนขาข้างที่เจ็บนั้นจะยกอย่างเร็วเวลาก้าว และสัตว์จะไม่ยอมใช้ขาข้างเจ็บรับน้ำหนัก ซึ่งจะสัมพันธ์กับการลุก และการยืนที่ย่อมจะผิดปกติไปด้วยเสมอ
ส่วนใหญ่มักเกิดจากการอักเสบตามข้อหรือตามกล้ามเนื้อ อาจพบข้อขาบวม ร้อน คลำดูจะเจ็บปวด หรือมีบาดแผลที่ส่วนพื้นกีบไรกีบ เช่น กรณีพื้นกีบเปื่อยจากการยืนในที่แฉะๆ เสมอ, กรณีเป็นโรคปากและเท้าเปื่อย, กรณีที่กีบแตก หรือมีเศษหิน เศษตะปูตำที่ซอกกีบ หรือมีเนื้องอก ที่หว่างกีบ เป็นต้น นอกจากนี้โคอาจมีอาการเดินขาแข็งๆ โดยไม่มีบาดแผล หรือการอักเสบที่ใดๆ ให้เห็น กรณีเช่นนี้อาจเกิดจากโรคไข้ขาแข็ง (ไข้สามวัน) |
|||||||
![]() |
|||||||
อาการที่เจ้าของจะสังเกตได้คือ โคจะผอมโทรม อาจเกิดจากการได้รับอาหารไม่เพียงพอ หรือเจ็บป่วยก็ได้ ต้องอาศัยการสังเกตอาการอื่นๆหลายอย่างประกอบกัน ตัวอย่างเช่น |
|||||||
![]() |
|||||||
สิ่งผิดปกติที่พบได้เสมอๆ ก็คือ สภาพที่มีพวกเห็บ, เหา, ไร, เชื้อรา ฯลฯ ไปขอแบ่งที่อาศัยอยู่ด้วย พวกนี้จัดเป็นพยาธิภายนอก ซึ่งเราควรจะกำจัด เพราะพวกเหล่านี้ไม่ได้อาศัยอยู่อย่างเดียว แต่เข้าไปตักตวงสูบเลือดเนื้อจนเจ้าของที่โทรมให้คุณรู้สึกได้
ถ้าสัตว์มีผิวหนังแห้ง ขนหยาบกระด้าง หรือหยิกหยองโดยเฉพาะในลูกโค ร่วมกับสภาพสัตว์โทรม มักเกิดจากการได้อาหารไม่ดี ไม่เพียงพอ หรือมีพยาธิในทางเดินอาหาร ถ้าขนร่วงเป็นหย่อมๆ ก็น่าจะนึกถึงเชื้อรา หรือขี้เรื้อนมากกว่าอย่างอื่น |
|||||||
![]() |
|||||||
มักจะเป็นกลิ่นที่ไม่ค่อยเข้าท่า ทำให้ผู้รับไม่สบอารมณ์เสมอ เช่น กลิ่นจากช่องคลอดในโคที่รกค้าง และมีมดลูกอักเสบตามมา
กรณีนี้โคจะขับน้ำกลิ่นเหม็นจัดออกมาเป็นเวลาหลายวัน จนถึงหลายเดือนได้ กลิ่นเหม็นจากแผลเน่าเปื่อยในช่องปาก หรือแผลตามตัวที่มีหนอนแมลงวันไช กลิ่นเหม็นจากอุจจาระที่ผิดปกติ ในกรณีกระเพาะไม่ทำงาน, กระเพาะบิด เป็นต้น |
|||||||
![]() |
|||||||
ถ้าปากมีน้ำลายมากกว่าปกติ มักเกิดจากมีแผลในช่องปาก เช่น โรคปากเท้าเปื่อย หรือมีวัตถุทิ่มต่ำที่กระพุ้งแก้ม เหงือก หรือลิ้น นอกจากนี้ยังเป็นอาการหนึ่งของโรคหลายชนิดที่ไม่ได้ทำให้มีบาดแผลในปาก เช่น ไข้ขาแข็ง โรคที่ทำให้ไข้ขึ้นสูงเกือบทุกชนิด |
|||||||
นัยน์ตาของโคนั้น ถ้าหากเป็นโรคของนัยน์ตาโดยตรง มักจะสังเกตเห็นได้ง่าย
เช่น นัยน์ตาแห้งผาก, ตาดำขุ่นขาว หรือมีแผล, ตาแดง, มีน้ำตาไหลมาก ฯลฯ แต่บางโรคเช่น โรคเกี่ยวกับระบบประสาท ได้แก่ โรคพิษสุนัขบ้า ส่วนของ รูม่านตามักจะขยายใหญ่ผิดปกติ และไม่ลดขนาดลงเมื่อโดนไฟส่อง จมูกของโคมักจะชื้น มีเหงื่อเกาะ หรือมีน้ำมูกใสๆ เล็กน้อยเสมอ ถ้าเกิดไข้สูงๆ จมูกจะแห้ง และถ้ามีความผิดปกติของระบบหายใจ เช่น ปอดบวม มักเห็นน้ำมูกข้น หรือเป็นหนองด้วย |
![]() |
||||||
![]() |
|||||||
สภาวะมีไข้ในโคคือ เมื่อวัดอุณหภูมิของร่างกายโคสูงกว่าปกติ ในที่นี้ยกเว้นกรณี ที่วัดหลังจากสัตว์เพิ่งออกกำลังกาย หรือหลังกินอาหารใหม่ๆ หรือวัดในวันที่อากาศร้อนเป็นพิเศษ หรือแม่โคท้องแก่ ถ้าหากมีสภาพผิดปกติอื่นๆ ร่วมด้วยก็ไม่ต้องตกใจ เพราะในสภาวะที่กล่าวนี้อุณหภูมิโคจะสูงกว่าปกติอยู่แล้ว
อาการมีไข้มักเกิดร่วมกับอาการอื่นๆ ที่สังเกตได้ คือ จมูก ปากแห้ง หอบหายใจเร็ว ซึม เบื่ออาหาร ท้องผูก กระหายน้ำ ปัสสาวะลดลง บางตัวมีน้ำลายยืด ขนลุกเป็นระยะๆ บางครั้งจะพบว่า ส่วนขา ใบหู จมูก และโคนขา จะร้อนบ้างเย็นบ้างสลับกัน |